เครื่องชั่งใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรง
(Weighing Instrument for direct sale to the public)
บทความต่อไปนี้เป็นบทความที่เขียนไว้นานาแล้ว และถูกนำไปบรรจุไว้ในหนังสือฉบับพกพา “นานาสาระชั่งตวงวัด” ซึ่งเป็นเล่มแรก อีกทั้งเป็นเอกสารที่ถอดความอ้างอิงจากเอกสาร OIML R76-1 (Edition 1992) ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเก่า โดยเอกสาร OIML ฉบับปัจจุบันจะเป็น OIML R76-1 (Edition 2006) หรือจะใหม่กว่านี้ก็ขอให้ท่านไปลองตรวจสอบดู แต่เชื่อว่าหลักคิดของการกำหนดเรื่อง “เครื่องชั่งใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรง (Weighing Instrument for direct sale to the public)” ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ก็ขอให้ผู้ที่สนใจและตั้งใจเรียนรู้ไปเทียบเคียง ก็นำบทความเก่า พร้อมขัดเกลาเนื้อหาเล็กน้อยมาลงใหม่อีกครั้ง ส่วนในตอนท้ายได้เขียนเพิ่มเติมเนื้อหาความคิดเห็นไว้เพิ่มเติม เพื่อเสริมต่อยอดจากบทความเดิม ถือว่าเป็นของเก่าบวกของใหม่ โดยมีใจความว่า
เนื่องจากการวิวัฒนาการของเครื่องชั่งได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องด้วยระยะเวลานาน การจำแนกเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติที่มีใช้อยู่นั้นเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพราะว่าการผลิตและหลักการทำงานของเครื่องชั่งแต่ละชนิดหรือแต่ละแบบนั้นได้มีการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีตลอดเวลา ในที่นี้เพื่อความเหมาะสมและเป็นไปตามระบบสากลเราจึงให้ความสนใจการจัดแบ่งเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติตามวัตถุประสงค์การใช้งานนั้นก็คือ ความที่ต้องการทราบค่าน้ำหนักสิ่งของที่ต้องการชั่งด้วยเครื่องชั่งหรือก็คือ “ผลการชั่งน้ำหนัก” นั้นเอง
สามารถแบ่งเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติ (Non-Automatic Weighting Instruments) ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ด้วยกันคือ
1. เครื่องชั่งที่แสดงค่าได้เอง หรือกึ่งแสดงค่าได้เอง(A Self-or Semi-Self-Indicating Instrument)
2. เครื่องชั่งที่แสดงค่าได้เองไม่ได้ (A Non-Self-Indicating Instrument)
แต่ในขณะเดียวกันก็อาจมี
- เครื่องชั่งอิเล็คทรอนิค (Electronic instrument)
- เครื่องชั่งที่มีส่วนแสดงค่าน้ำหนัก (Graduated instrument)
- เครื่องชั่งที่ไม่มีส่วนแสดงค่าน้ำหนัก (Non-graduated instrument)
- เครื่องชั่งที่มีมาตราส่วนราคา (Instrument with price scales)
- เครื่องชั่งที่คำนวณราคาได้ (Price-computing instrument)
- เครื่องชั่งพิมพ์ราคาได้ (Price-labeling instrument)
- เครื่องชั่งที่เปลี่ยนค่าช่องขั้นหมายมาตราได้ (Multi - interval instrument)
- เครื่องชั่งที่มีช่วงการชั่งหลายช่วง (Multiple range instrument)
- เครื่องชั่งสองแขนเท่ากัน (Equal Arms)
- เครื่องชั่งแบบโรเบอร์วัลและเบแรงเงอร์ (Roberval and Beranger instruments)
- เครื่องชั่งแบบสตีลยาร์ด (Simply steelyards with sliding poises)
- เครื่องชั่งแบบแท่นชั่ง (Instruments of the steelyard type with accessible sliding poises)
ด้วยเหตุนี้หากส่วนประกอบต่างๆของเครื่องที่กล่าวมามีส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นไปตามหรือหลักการทำงานตามข้อกำหนดของเครื่องเครื่องชั่งที่แสดงค่าได้เอง หรือกึ่งแสดงค่าได้เอง (A Self-or Semi-Self-Indicating Instrument) หรือเครื่องชั่งที่แสดงค่าได้เองไม่ได้ (A Non-Self-Indicating Instrument) ก็สามารถนำข้อกำหนดดังกล่าวมาใช้เสริมเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้แล้วเรายังพบว่าใน OIML R76-1 (Edition 1992) ก็จะมีข้อกำหนดเสริมเพิ่มเติมเฉพาะเครื่องชั่งที่ได้กล่าวมาอีกด้วย
แต่ในที่นี้เราจะให้ความสนใจเฉพาะเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรง (Weighing Instrument for direct sale to the public) ซึ่งเป็นไปตาม OIML R76-1 (Edition 1992) ซึ่งจะใช้กับเครื่องชั่งชั้นความเที่ยง II, III หรือ IIII ที่มีพิกัดกำลังสูงสุดไม่เกิน 100 กก. ตามที่ออกแบบไว้เพื่อใช้ในการซื้อขายโดยตรงต่อสาธารณะ แต่ในการที่จะกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมหรือพิจารณาว่าเครื่องชั่งใดควรจัดเป็นเครื่องชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรงเพิ่มเติมจากที่แนะนำไว้ใน OIML R76-1 (Edition 1992) เพื่อให้เหมาะสมกับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนานั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง สำหรับประเทศไทยนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการกำหนดดูแลเครื่องชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย พระราชบัญญัติชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 คือ สำนักงานกลางชั่งตวงวัด (Central Bureau of Weights & Measures) นั้นเอง
เรามาทำความเข้าใจในบางมุมมองว่าเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรงว่านอกจากเครื่องชั่งเป็นไปตามข้อกำหนดตาม OIML R76-1 (Edition 1992) แล้วเราควรเน้นคุณสมบัติเฉพาะงานนี้ได้แก่
ชั้นความเที่ยงใดจึงเหมาะสม ?
เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุดในทางปฏิบัติ โดยพิจารณาถึงความเที่ยงตรงที่ยอมรับได้กับระดับราคาของเครื่องชั่งที่ผู้ประกอบการต้องจัดหามานั้นต้องไม่แพงมากจนเกินไป เพราะราคาของเครื่องชั่งจะมีราคาแพงมากน้อยขึ้นอยู่กับชั้นความเที่ยงและหลักการทำงาน เราพบว่าในหลายประเทศที่เจริญแล้วจะยอมให้ใช้เครื่องชั่งไม่อัตโนมัติใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรง (Weighing Instrument for direct sale to the public) เป็นเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติชั้นความเที่ยง III เสียส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นเครื่องชั่งที่มีราคาพอที่ผู้ประกอบการสามารถจัดซื้อหามาเพื่อใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรงได้ ในขณะที่ความแม่นยำของเครื่องชั่งอยู่ในระดับที่เหมาะสมและมีผลผิดสัมพันธ์ของการชั่งน้อยเมื่อเทียบกับน้ำหนักที่ใช้ชั่งซื้อขายปลีกย่อยโดยทั่วไป ซึ่งแสดงอยู่ในการกำหนดค่า Min ดังในตารางที่ 3 OIML R76-1 (Edition 1992) อีกทั้งมูลค่าของสินค้าต่ออัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่ยอมให้ได้ ณ ค่าน้ำหนักที่ทำการชั่งอยู่ในอัตราส่วนที่ยอมรับได้ แล้วมาดูซิว่าเครื่องชั่งมีการจัดชั้นความเที่ยง III และอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด (Maximum Permissible Error) ที่ยอมให้มีได้สำหรับเครื่องชั่งชั้นความเที่ยง III ดังในตารางที่ 3 OIML R76-1 (Edition 1992) และตารางที่ 6 OIML R76-1 (Edition 1992) ตามลำดับ
แต่ถ้าหากมีความต้องการใช้เครื่องชั่งให้ละเอียดมากขึ้นหรือชั้นความเที่ยงสูงขึ้นนั้น เป็นคำถามที่ย้อนกลับไปว่าเรายอมให้สินค้าที่ต้องการชั่งสามารถผิดไปในทางมากกว่าหรือทางน้อยกว่าจากจำนวนที่ต้องการเป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นเราจึงจะสามารถกำหนดหาชั้นความเที่ยงได้ต่อไป รวมทั้งกำหนดประเภทและชนิดของเครื่องชั่งโดยคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน เช่น ลักษณะการทำงานต้องใช้แหล่งพลังงานจากภายนอกเครื่องชั่งหรือไม่ ตัวสินค้าเป็นแบบแห้งหรือเปียก ติดไฟได้ง่ายหรืออาจระเบิดได้หรือไม่ ราคาของเครื่องชั่งแพงหรือถูกเมื่อซื้อมาใช้งานจะคุ้มทุนหรือไม่ พกพายกหรือเคลื่อนย้ายสะดวกหรือไม่ เครื่องชั่งต้องการเอาใจใส่ดูแลรักษามากน้อยเพียงใด มีความละเอียดอ่อนและต้องใช้ความรู้มากน้อยเพียงใดในการใช้เครื่องชั่ง เป็นต้น
การพิจารณาเลือกชั้นความเที่ยงของเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติมีหลักพิจารณาง่ายๆ ที่ว่า
1. กำหนดว่าสินค้าที่เราต้องการชั่งยอมให้มีผลผิดได้เท่าไหร่ ทั้งผลผิดฝ่ายมากและผลผิดฝ่ายน้อยจากค่าน้ำหนักที่ต้องการ
2.เลือกเครื่องชั่งที่มีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดทั้งฝ่ายมากและฝ่ายน้อย (MPEWI) มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของผลผิดสินค้าที่ยอมรับได้ (MPESMT)
3.. เตรียมตุ้มน้ำหนักแบบมาตราที่มีชั้นความเที่ยงที่มีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด (MPESTD) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติ
สรุปในรูปของสมการได้ว่า
ซึ่งถ้าหากค่า 1/3 เปลี่ยนเป็น 1/4 หรือ 1/5 ยิ่งมีค่าน้อยลงยิ่งดี แต่เครื่องชั่งก็ยิ่งมีราคาสูงขึ้นเพราะมีชั้นความเที่ยงสูงขึ้น หรือมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวเข้ามา ทำให้ต้องพิจารณาเพิ่มเติมอีกเช่นกัน
ตารางที่ 3 OIML R76-1 (Edition 1992)
ชั้น
ความเที่ยง
|
ค่าขั้นหมาย
มาตราตรวจรับรอง
|
จำนวนขั้นหมายมาตรา
ตรวจรับรอง
(n = Max/e)
|
พิกัดกำลังต่ำสุด(Min.)
ไม่น้อยกว่า
(Lower limit)
|
|
E
|
จำนวนต่ำสุด
|
จำนวนสูงสุด
|
|
ชั้น II
|
0.001 ก. £ e £ 0.05 ก.
0.1 ก. £ e
|
100
5000
|
100 000
100 000
|
20e
500e
|
ชั้น III
|
0.1 ก. £ e £ 2 ก.
5 ก. £ e
|
100
500
|
10 000
10 000
|
20e
20e
|
ชั้น IIII
|
5 ก. £ e
|
100
|
1 000
|
10e
|
ตารางที่ 6 อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดสำหรับการตรวจสอบให้คำรับรองชั้นแรก (Values of maximum permissible errors on initial verification) (OIML R76-1, Edition 1992)
อัตรา
|
น้ำหนักใช้ทดสอบ (m) แสดงในหน่วย
ของค่าขั้นหมายมาตราตรวจรับรอง (e)
|
เผื่อเหลือเผื่อขาด
|
ชั้น II
|
ชั้น III
|
ชั้น IIII
|
±0.5 e
|
0 £ m £ 5 000
|
0 £ m £ 500
|
0 £ m £ 50
|
±1.0 e
|
5 000 < m £ 20 000
|
500 < m £ 2000
|
50 < m £ 200
|
±1.5 e
|
20 000 < m £ 100 000
|
2000 < m £ 10000
|
200 < m £ 1000
|
หมายเหตุ สังเกตว่าช่วงน้ำหนักใช้ทดสอบ (m) แสดงในหน่วยของค่าขั้นหมายมาตราตรวจรับรอง (e) ของแต่ละชั้นความเที่ยงจะต่างกันอยู่เท่ากับ 10 เท่า
จำนวนขั้นหมายมาตราตรวจรับรอง(n = Max/e) จำนวนสูงสุดที่ควรได้ ?
เมื่อมาถึงจุดนี้เราจึงมาพิจารณาเครื่องชั่งชั้นความเที่ยง III โดยเฉพาะ พบว่าเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรงนั้นควรมีจำนวนขั้นหมายมาตราตรวจรับรองสูงสุด (nmax) ไม่ควรเกิน 6,000 ช่อง
จากตารางที่ 3 OIML R76-1 (Edition 1992) นั้นกำหนดให้เครื่องชั่งชั้นความเที่ยง III สามารถมีจำนวนขั้นหมายมาตราตรวจรับรองสูงสุดถึง 10,000 ช่อง แต่หากพิจารณาถึงความเป็นจริงและความน่าเชื่อถือของเครื่องชั่งแล้ว หากเครื่องชั่งเป็นเครื่องชั่งอิเล็คทรอนิคที่ใช้ “โหลดเซลล์” เพื่อใช้ในการวัดน้ำหนักในส่วนชั่งน้ำหนัก เราจะต้องคำนึงถึง dead load เช่น ถาดรองรับน้ำหนักหรือคานส่งถ่ายแรงจากถาดรองรับน้ำหนักต่างๆที่โหลดเซลต้องรับภาระก่อนที่จะเริ่มต้นการชั่งที่น้ำหนักเท่ากับศูนย์ เพื่อให้ผลการชั่งของเครื่องชั่งน่าเชื่อถือและให้ผลการชั่งสม่ำเสมอตลอดช่วงระยะเวลาทำการชั่ง ดังนั้นเราจึงลดจำนวนขั้นหมายมาตราตรวจรับรองสูงสุด 10,000 ช่อง เหลือเพียง 6,000 ช่องโดยประมาณ ทั้งนี้เพื่อยอมให้โหลดเซลต้องรับภาระ dead load ประมาณ 4,000 ช่อง และสามารถชั่งน้ำหนัก (live load) ได้ประมาณ 6,000 ช่องนั้นเอง
|
ชั้นความเที่ยง
(OIML R76)
|
จำนวน
ขั้นหมายมาตราตรวจรับรอง
n = MAx/e
|
เครื่องชั่งรถยนต์บรรทุก
(Truck Scale or Lorry Weighers)
|
III
|
£ 3,000 – 5,000
|
เครื่องชั่งสำหรับขายปลีกต่อสาธารณะชนโดยตรง
(Retail Scales)
|
III
|
£ 6,000
|
Crane Weighers
|
III
|
£ 2,000
|
จากตารางข้างบนนี้ไม่ใช่เป็นกฎเกณฑ์อะไรที่ตายตัวมากนัก เพียงเป็นการจากตารางข้างบนนี้ไม่ใช่เป็นกฎเกณฑ์อะไรที่ตายตัวมากนัก เพียงเป็นการแนะนำค่าหรือเพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดซื้อหรือใช้ในการออกแบบ โดยช่วงค่าที่แนะนำนี้เป็นแนวความคิดค่อนไปทางอนุรักษ์นิยมน่ะครับ แต่ผมชอบครับ เพราะมั่นใจได้นานแม้นจะได้ผลการชั่งที่อาจจะหยาบไปบ้างก็ตาม
แต่อย่างไรก็ดี หากผู้ผลิตเครื่องชั่งสามารถแสดงได้ว่าได้ใช้โหลดเซลซึ่งมีจำนวนขั้นหมายมาตราตาม OIML R61 ได้มาตรฐานเท่ากับหรือสูงกว่าโหลดเซลที่ควรเลือกใช้กับเครื่องชั่งชั้นความเที่ยง III แล้ว เราอาจสามารถเลือกหรือขยับมีจำนวนขั้นหมายมาตราตรวจรับรองจากไม่ควรเกิน 6,000 ช่อง ได้มากกว่านี้บางเล็กน้อยแต่ต้องไม่เกิน 70% ของจำนวนขั้นหมายมาตราตรวจรับรองสูงสุด 10,000 ช่อง (เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน) แต่ถ้าหากถามว่าสามารถยอมให้เครื่องชั่งไม่อัตโนมัติใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรงมีจำนวนขั้นหมายมาตราตรวจรับรองสูงสุด 10,000 ช่อง ได้หรือไม่ ก็ขอตอบว่าได้เนื่องจากยอมรับว่า OIML R76-1 (Edition 1992) เป็นที่ยอมรับในระดับสากล แต่ถ้าหากประเทศไทยจะกำหนดจำนวนขั้นหมายมาตราตรวจรับรองสูงสุดของเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรงลดลงให้เหลือ 6,000 ช่อง ก็สามารถกระทำได้และน่าจะดีกว่าด้วย
ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่ควรมีสำหรับเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรง
นอกจากเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติใช้เพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรงจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ OIML R76-1 (Edition 1992) แล้ว เครื่องชั่งดังกล่าวยังถูกเน้นในคุณสมบัติอื่นๆ อีก ดังต่อไปนี้
1. ส่วนแสดงค่าหลัก (Primary indications) ส่วนแสดงค่าหลักของเครื่องชั่งสำหรับใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรงต้องแสดงผลการชั่งและข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งการแสดงค่าศูนย์ที่ถูกต้อง, สภาวะการทำงานของส่วนทดน้ำหนัก (tare device) และส่วนกำหนดน้ำหนักทดล่วงหน้า (preset tare device)
2. ส่วนตั้งศูนย์ (Zero-setting device) เครื่องชั่งสำหรับใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรงต้องไม่ประกอบด้วยส่วนตั้งศูนย์ไม่อัตโนมัติ ยกเว้นเป็นการสั่งให้ส่วนตั้งศูนย์ไม่อัตโนมัติทำงานด้วยเครื่องมือเฉพาะเท่านั้น
สำหรับส่วนแสดงค่าแบบดิจิตอล ต้องมีผลผิดของส่วนตั้งศูนย์ (zero setting error) ไม่เกิน ± 0.25e
ผลกระทบการทำงานทั้งหมดของส่วนตั้งศูนย์และส่วนรักษาศูนย์ต้องไม่เกิน 4% ของพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่ง
3. ส่วนทดน้ำหนัก (Tare device)
เครื่องชั่งแบบกลไกที่ประกอบด้วยส่วนรับน้ำหนักต้องไม่มีส่วนทดน้ำหนัก
เครื่องชั่งแบบแท่นชั่งเดียวอาจมีส่วนทดน้ำหนักได้ถ้าหากทำให้ผู้ซื้อสามารถมองเห็น
- ส่วนทดน้ำหนักกำลังถูกใช้งานอยู่หรือไม่ และ
- การตั้งค่าของส่วนทดน้ำหนักได้มีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
ให้ส่วนทดน้ำหนักสามารถทำงานได้เพียงส่วนเดียวเท่านั้น เมื่อเครื่องชั่งยังคงทำงานอยู่
หมายเหตุ ข้อกำหนดการใช้งานนี้รวมถึงต้องเป็นไปตามข้อกำหนด 4.14.3.2 ย่อหน้าที่ 2, OIML R76-1 (Edition 1992)
เครื่องชั่งต้องไม่ประกอบด้วยส่วนซึ่งสามารถเรียกค่าน้ำหนักรวม (Gross vale) ขณะที่มีส่วนทดน้ำหนัก หรือส่วนกำหนดน้ำหนักทดล่วงหน้าทำงานอยู่
3.1 ส่วนทดน้ำหนักไม่อัตโนมัติ (Nonautomatic tare device) ระยะการเคลื่อนที่ 5 มม.ของจุดควบคุมควรมีค่าเท่ากับ 1 ขั้นหมายมาตราตรวจรับรอง
3.2 ส่วนทดน้ำหนักกึ่งอัตโนมัติ (Semi-automatic tare device) เครื่องชั่งอาจประกอบด้วยส่วนทดน้ำหนักกึ่งอัตโนมัติ ถ้า
- การทำงานของส่วนทดน้ำหนักต้องไม่ยอมให้มีการลดค่าของน้ำหนักที่ทดไว้ และ
- ผลของการทดน้ำหนักสามารถถูกยกเลิกได้ก็ต่อเมื่อไม่มีน้ำหนักบนส่วนรับน้ำหนัก เท่านั้น
นอกจากนี้ เครื่องชั่งต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดอย่างน้อย 1 ข้อของข้อกำหนดต่อไปนี้
1. ค่าน้ำหนักทดต้องถูกแสดงอย่างถาวรบนส่วนแสดงค่าน้ำหนักทด ซึ่งแยกออกมาจากการแสดงค่าน้ำหนักชั่งอย่างชัดเจน
2. ค่าน้ำหนักทดต้องถูกแสดงด้วยเครื่องหมายลบ (“-”) เมื่อไม่มีน้ำหนักใด ๆ บนส่วนรับน้ำหนัก หรือ
3. ผลของการทำงานของส่วนทดน้ำหนักถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ และส่วนแสดงค่ากลับมาแสดงค่าศูนย์เมื่อไม่มีน้ำหนักบนส่วนรับน้ำหนักหลังการแสดงผลการชั่งที่น้ำหนักสุทธิมากกว่าศูนย์
3.3 ส่วนทดน้ำหนักอัตโนมัติ (Automatic tare device) เครื่องชั่งต้องไม่ประกอบด้วยส่วนทดน้ำหนักอัตโนมัติ
4. ส่วนกำหนดน้ำหนักทดล่วงหน้า (Preset tare device) อาจมีส่วนกำหนดน้ำหนักทดล่วงหน้าได้ถ้ามีการแสดงค่าน้ำหนักทดที่ตั้งไว้ล่วงหน้าบนส่วนแสดงค่าน้ำหนักหลักในส่วนของจอซึ่งแยกแสดงผลแตกต่างออกจากผลการชั่งอย่างชัดเจน และเป็นไปตามข้อกำหนด 4.14.3.2 วรรคแรก OIML R76-1 (Edition 1992)
ส่วนกำหนดน้ำหนักทดล่วงหน้าต้องไม่สามารถทำงานได้ขณะที่ส่วนทดน้ำหนักกำลังทำงานอยู่
เมื่อส่วนกำหนดน้ำหนักทดล่วงหน้าประกอบด้วย price look up; PLU ค่าน้ำหนักทดล่วงหน้าอาจถูกยกเลิกพร้อมกับการยกเลิก price look up; PLU
5. การห้ามชั่ง (Impossibility of weighing) ต้องไม่สามารถทำการชั่งหรือกำหนดการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนแสดงค่า (indicating element) ระหว่างเครื่องชั่งอยู่ในตำแหน่งล็อคปกติ หรือระหว่างการทำงานเพิ่มหรือลดน้ำหนักตามปกติ
6. การมองเห็น (Visibility) ส่วนแสดงค่าหลักทุกส่วนต้องแสดงผลการชั่งแก่ผู้ซื้อและผู้ขายให้เห็นพร้อมๆกันอย่างชัดเจน สำหรับเครื่องชั่งที่มีส่วนแสดงค่าหลักแบบดิจิตอล ตัวเลขหรือสัญลักษณ์สำหรับการแสดงค่าผลการชั่งต้องมีขนาดสัดส่วนเท่ากันทั้งด้านที่แสดงแก่ผู้ซื้อและผู้ขาย และต้องสูงอย่างน้อย 10 มม. ±0.5 มม.
สำหรับเครื่องชั่งซึ่งใช้ตุ้มน้ำหนักประกอบการชั่ง ต้องแสดงค่าของตุ้มน้ำหนักดังกล่าวอย่างชัดเจน
เมื่อผู้ซื้อยกสินค้าออกจากส่วนรองรับหรือถาดรับน้ำหนัก ค่าผลการชั่งน้ำหนักรวมทั้งราคาต่อหน่วยและราคาทั้งหมดที่ต้องจ่ายต้องยังคงแสดงผลค้างไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่งหลายวินาทีที่เพียงพอต่อผู้ซื้อจะสามารถอ่านผลดังกล่าวได้ครบ
7. ส่วนแสดงช่วยเสริมและส่วนแสดงผลขยาย (Auxiliary and extended indicating devices) เครื่องชั่งต้องไม่ประกอบด้วยทั้งส่วนแสดงช่วยเสริม (Auxiliary indicating device) และส่วนแสดงผลขยาย (Extending indicating device)
8. อัตราส่วนการนับ (Counting ratio) อัตราส่วนการนับของเครื่องชั่งที่มีการนับค่าแบบกลไก (a mechanical counting instrument) ต้องมีค่าเท่ากับ 1/10 หรือ 1/100
9. หากเครื่องชั่งสำหรับใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรงมีส่วนแสดงราคา (Additional requirements for an instrument for direct sales to the public with price indication) ข้อกำหนดต่อไปนี้เป็นข้อกำหนดเสริมเพิ่มเติม
9.1 การแสดงค่าหลัก (Primary indications) สำหรับเครื่องชั่งที่แสดงราคาได้ (a price-indicating instrument) การแสดงเสริมเพิ่มเติมการแสดงค่าหลัก (the supplementary primary indications) มีได้คือการแสดงราคาต่อหน่วย และจำนวนเงินที่ต้องจ่าย และอาจเป็นไปได้ที่จะมีการแสดงจำนวน, ราคาต่อหน่วย และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายสำหรับสินค้าประกอบอื่นๆที่ยังไม่มีการชั่ง, ราคาของสินค้าประกอบอื่นๆที่ยังไม่มีการชั่งและราคารวมทั้งหมด ในส่วนของกราฟแสดงราคาสินค้าไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดนี้
9.2 เครื่องชั่งที่คำนวณราคาได้ (Price computing instrument) จำนวนเงินที่ต้องจ่ายที่ได้จากการคำนวณจากการคูณน้ำหนักที่ชั่งได้กับราคาต่อหน่วยและถูกปัดเศษให้ใกล้เคียงกับขั้นหมายมาตราราคาที่ต้องจ่ายที่ใกล้ที่สุด โดยการคำนวณต้องนำค่าน้ำหนักและราคาต่อหน่วยตามที่แสดงไว้โดยเครื่องชั่ง ส่วนที่ทำการคำนวณไม่ว่าในกรณีใดๆถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องชั่ง
ขั้นหมายมาตราราคาที่ต้องจ่ายต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายของแต่ละประเทศนั้นๆ ต่อไป
ราคาต่อหน่วยต้องแสดงราคาในรูป ราคาต่อ 100 ก. หรือ ราคาต่อ 1 กก.
เมื่อเปลี่ยนภาระน้ำหนักบนเครื่องชั่งโดยผู้ซื้อหรือผู้ขายยกสินค้าออกจากเครื่องชั่งแล้ว เครื่องชั่งต้องแสดงผลการชั่งก่อนหน้านี้ด้วยช่วงระยะเวลานานกว่า 1 วินาที แล้วการแสดงค่าน้ำหนัก, ราคาต่อหน่วย และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายต้องยังคงแสดงให้เห็นอยู่หลังจากการแสดงค่าน้ำหนักแสดงค่าคงที่เสถียรภาพแล้ว และแม้หลังจากทำการป้อนค่าราคาต่อหน่วยและขณะที่สินค้าอยู่บนส่วนรับน้ำหนักก็ต้องแสดงค่าค้างไว้อย่างน้อยสุด 1 วินาที
นอกจากเมื่อเปลี่ยนภาระน้ำหนักบนเครื่องชั่งโดยผู้ซื้อหรือผู้ขายยกสินค้าออกจากเครื่องชั่งแล้ว เครื่องชั่งต้องแสดงผลการชั่งก่อนหน้านี้ด้วยช่วงระยะเวลานานกว่า 1 วินาที หรือการแสดงค่านี้อาจยังคงแสดงค่าอยู่ไม่เกิน 3 วินาทีหลังจากเอาของที่ชั่งออกไป ถึงแม้ว่าการแสดงค่าน้ำหนักได้อยู่ในสภาวะเสถียรอยู่ก่อนแล้วและเป็นการแสดงค่าศูนย์ ตราบที่มีการแสดงค่าน้ำหนักหลังจากเอาของที่ชั่งออกไปแล้วการที่ป้อนหรือเปลี่ยนค่าราคาต่อหน่วยใหม่ต้องกระทำไม่ได้
หากมีการซื้อขายด้วยการแสดงผลการชั่งของเครื่องชั่งด้วยการพิมพ์ ข้อมูลจากเครื่องชั่งที่ต้องถูกพิมพ์แสดงไว้ได้แก่ ค่าน้ำหนัก, ราคาต่อหน่วย และจำนวนเงินรวมที่ต้องจ่าย
ถ้าหากเครื่องชั่งถูกออกแบบให้สามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำของเครื่องชั่งก่อนทำการพิมพ์ ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่สามารถถูกส่งไปยังส่วนพิมพ์ค่าเพื่อทำการพิมพ์บนตั๋วสำหรับลูกค้าซ้ำอีกในครั้งถัดไป
เครื่องชั่งที่สามารถพิมพ์ป้ายหรือแถบแสดงราคาได้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด 4.17, OIML R76-1 (Edition 1992) ด้วย
9.3 เครื่องชั่งสำหรับบริการตนเอง (Self-service instrument) เครื่องชั่งสำหรับบริการตนเองไม่จำเป็นต้องมีส่วนแสดงค่าผลการชั่งจำนวน 2 ส่วนหรือหน้าปัด ถ้าหากเครื่องชั่งสามารถพิมพ์ผลการชั่งด้วยตั๋วหรือแถบกระดาษ การแสดงผลหลักต้องครอบคลุมถึงเวลาที่ทำการใช้เครื่องชั่งด้วยชนิดสินค้าที่แตกต่างกัน
และในตอนท้ายสุดเพื่อเป็นการย้ำเตือนในที่นี้ว่า คุณสมบัติของเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรง (Weighing Instrument for direct sale to the public) ที่ได้กล่าวทั้งหมดในส่วนนี้แล้วเครื่องชั่งต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ใน OIML R76-1 (Edition 1992) หากพบว่ามีชิ้นส่วน หรือหลักการทำงานใด หรืออื่นๆ ก็ให้นำข้อกำหนดของ OIML R76-1 (Edition 1992) เข้ามาประยุกต์ใช้งานได้ทันที
เนื้อความต่อไปนี้ ถือเป็นข้อความที่เขียนเพิ่มเติม ถือเป็นหลักคิดมุมมองที่จะสงวนไว้กับงานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย (Legal Metrology) ของราชอาณาจักรไทย ในมุมมองของตัวเรา ถูกผิดก็คิดตามกันไป ไม่ต้องเชื่อถือ แต่ขอให้เริ่มคิดและ/หรือรับความคิดนี้เข้าไปพิจารณา เรามาเริ่มกัน......
Local & Global
วลีนี้เราจะใช้บ่อย “Local & Global” เมื่อมีโอกาสที่ต้องอธิบายต่อบุคคลที่ต้องอธิบายหรือให้ความรู้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคล แล้วแต่จังหวะชีวิตที่มีขึ้นๆลงๆ ทั้งนี้เพราะความคิดหรือหลักคิดดังกล่าวมันเกิดจากได้อ่าน กฎกระทรวงพาณิชย์ฯ ที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 ตอนที่ต้องทำหน้าที่ร่างกฎกระทรวงพาณิชย์ฯ ซึ่งออกภายใต้พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 อีกทั้งเมื่อหวนกลับไปนึกคำสอนที่บุคคลที่ยกไว้เหนือหัวซึ่งจำในรายละเอียดเป็นคำๆ ไม่ได้ แต่จำได้โดยหลักการว่า “เมื่อเราไปเรียนรู้ความรู้ของโลกตะวันตก เมื่อกลับมาบ้านเราให้นำความรู้ของโลกตะวันตกมาประยุกต์ (Adapt) ให้เข้ากับเศรษฐกิจสังคม วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม และ ฯลฯ แต่อย่านำความรู้ของโลกตะวันตกมาใช้กับบ้านเราทั้งหมด (Adopt) โดยไม่ขัดเกลาและปรับใช้......”
อะไรคือ “Local” หรือ “ท้องถิ่น” หากราชอาณาจักรไทยต้องอยู่ร่วมกับสังคมโลกที่มีพลวัตร “Local” ก็คือ “ราชอาณาจักรไทย” ส่วน “Global” ก็คือ “โลกใบสีฟ้าใบนี้” ส่วนวันนี้โลกจะเป็น Globalization หรือเริ่มเข้าสู่ Non Globalization ก็ว่ากันไป เพราะประชาธิปไตยแบบโลกตะวันตกมันชอบแบ่งขั้ว มันอยู่ร่วมกันกับสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายไม่ได้ มันคิดว่ามันดีและเก่งคนเดียว โดยเฉพาะสหรัฐ มันก็ชอบขีดแบ่งเส้นชัดเจนโดยตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของสหรัฐ มันจึงเกิดสงครามกลางเมืองสหรัฐฆ่ากันตายแบ่งเป็นฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ในสงครามกลางเมืองในประวัติศาสตร์ของชาติสหรัฐ โดยสุดท้ายฝ่ายเหนือชนะ แต่คนภายในประเทศสหรัฐฆ่ากันตายกันอย่างมากมายมหาศาล วันนี้สหรัฐอยากนำความเชื่อของสหรัฐเองเข้าสู่โลกภายนอก คุณต้องเลือกข้างไม่อยู่กับผมก็เป็นศัตรูกับผมว่าอย่างนั้นเถอะ.. มันน่าเศร้าใจ.. เอาละกลับมายังเรื่องของเรา ในความคิดของเราคำว่า “Local” คือเครื่องชั่งตวงวัดประจำถิ่น หรือเครื่องชั่งตวงวัดที่มีและนิยมใช้ ตลอดจนผลิตได้เองภายในประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบเศรษฐกิจและสังคม การเข้าถึงเครื่องชั่งตวงวัดที่ผลิตได้เองจากอุตสาหกรรมประจำถิ่น การลดการพึ่งพาเครื่องชั่งตวงวัดจากโลกภายนอก ตลอดจนเป็นเครื่องชั่งตวงวัดที่ฝังติดอยู่ในวิถีชีวิตของประชาชนภายในราชอาณาจักรไทย แต่ก็ด้วยภายใต้เทคโนโลยีของประจำถิ่นนี้เองจึงอาจเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ได้สูงส่งเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีของสากล พูดเพราะๆ คือภูมิปัญญาท้องถิ่นว่างั้นเถอะ การเป็นข้าราชการแผ่นดินก็ต้องสงวนและรักษาอุตสาหกรรมประจำถิ่นและส่งเสริม กระตุ้นให้อุตสาหกรรมประจำถิ่นถีบตัวเองให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นๆๆ เรื่อยๆ เพื่อสามารถท้าทายกับเครื่องชั่งตวงวัดจากภายนอกประเทศทั้งนี้เพราะกฎหมายของราชอาณาจักรไทยจะคุ้มครองอุตสาหกรรมประจำถิ่นไม่ได้ตลอดเวลาหากต้องอยู่ในสังคมโลก เช่นอยากเห็นผู้ผลิตเครื่องชั่งสปริงสามารถผลิตเครื่องชั่งไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐาน OIML R76 อยากเห็นผู้ผลิตมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื่อเพลิงจ่ายก่อนเติมหรือปั๊มหยอดเหรียญพัฒนาตนเองเป็นผลิตตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการของปั๊ม ปตท. ตามมาตรฐาน OIML R117 เป็นต้น ก็หวัง..และฝันน่ะ........... ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมประจำถิ่นที่ผลิตเครื่องชั่งตวงวัดหากไม่ปรับตัวและพัฒนา อุตสาหกรรมประจำถิ่นมันจะตายลงไป ยิ่งแข่งขันกันลดราคาเครื่องชั่งตวงวัดแล้วหันมาลดคุณภาพเครื่องชั่งตวงวัดประจำถิ่น นั้นเป็นสัญลักษณ์ของความล้มสลายหายนะ เพียงแต่จะเร็วหรือช้าก็ว่ากันไป ในขณะเดียวกันเราก็ต้องรักษาและคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนในราชอาณาจักรไทยด้วยกัน ดังนั้นในการร่างกฎกระทรวงในสมัยนั้น (พ.ศ. 2539-2542) เราจึงต้องสร้างความสมดุลยระหว่างการคุ้มครองอุตสาหกรรมประจำถิ่นและการคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนจากเครื่องชั่งตวงวัดประจำถิ่น หรือ “Local Weighing & Measuring Devices” หรือเรียกสั้นๆว่า “Local”
Local ที่กล่าวถึง ตัวอย่างเช่น เครื่องชั่งสปริง เครื่องตวงของแห้ง เครื่องตวงน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดสูบ ฯลฯ รวมทั้งมาตราชั่งตวงวัดในระบบประเพณีที่เทียบเข้าหาระบบเมตริก แนบท้ายพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 จนมาถึง... พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัดพ.ศ. 2542 นับวันนี้ก็ 100 ปี (พ.ศ. 2566) เข้าไปแล้ว
ส่วน “Global Weighing & Measuring Devices” หรือเรียกสั้นๆว่า “Global” เป็นเครื่องชั่งตวงวัดที่ผลิตจากต่างประเทศที่มีเทคโนโลยีทั้งสูงและต่ำ เราในฐานะข้าราชการของแผ่นดินก็ต้องตั้งกำแพงทางเทคนิคที่ไม่ขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งราชอาณาจักรไทยไปทำไว้กับ WTO เป็นต้น เพื่อให้เครื่องชั่งตวงวัดที่ดีมีคุณภาพเท่านั้นที่จะถูกโยนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของราชอาณาจักรไทย โดยเรายังมีหลังพิงฝากำหนดตามมาตรฐาน OIML เพราะเราไม่อยากให้ราชอาณาจักรไทยนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าๆ ซึ่งที่แท้จริงคือขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ออกนอกเรื่องจนได้เรา ทั้งนี้เพราะเครื่องชั่งตวงวัดถูกใช้ตีมูลค่าการซื้อขายสินค้าและบริการของราชอาณาจักรไทยมูลค่ามหาศาล รวมถึงเครื่องชั่งตวงวัดถูกใช้เพื่อการบังคับใช้กฎหมาย ถูกใช้เพื่อเครื่องชั่งตวงวัดในงานสาธารณะสุข ถูกใช้ในงานด้านความปลอดภัย (Safety) และถูกใช้งานงานด้านสิ่งแวดล้อม แต่วันนี้สำนักงานกลางชั่งตวงวัด (Central Bureau Of Weights & Measures; CBWM) เราทำได้เพียงขอบข่ายเดียวคืองานด้านการค้าสินค้าและบริการ เพราะดันมาอยู่ในองค์กรผิดที่ เอาต้นมะพร้าวไปปลูกบนภูเขา แล้วเอาไม้สักมาปลูกไว้ที่เกาะชายทะเล มันก็ตาย…...สิ.. (หาเรื่องอีกแล้ว ตู)
Local & เครื่องชั่งใช้ชั่งเพื่อการซื้อขายต่อสาธารณะโดยตรง (Weighing Instrument for direct sale to the public)
ให้ตรงประเด็นเรื่องที่เราจะคุยกันคือ “เครื่องชั่งสปริง” ถือว่าเป็นเครื่องชั่งประจำถิ่น เครื่องชั่งจากอุตสาหกรรมประจำถิ่น เครื่องชั่งที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า พกพาได้สะดวก ทนทุกสภาพอากาศ รองรับคุณภาพชีวิตตามอันพึ่งมีของแต่ละสังคมของราชอาณาจักรไทยที่ไม่ใช่ประเทศที่ร่ำรวย หรือรวยกระจุกจนกระจาย เป็นเครื่องชั่งที่ใช้ชั่งสิ่งของที่เกี่ยวข้องชีวิตประจำวันในการดำรงชีวิตของสังคมส่วนใหญ่ของประเทศ ประชาชนชาวไทยในราชอาณาจักรไทยสามารถเข้าถึงเครื่องชั่งสปริงได้อย่างมั่นคงเสถียรภาพและเพียงพอ ไม่ต้องพึงพาเครื่องชั่งตวงวัดจากภายนอกประเทศ เพราะเราตั้งกำแพงกีดกั้นทางเทคนิค ถ้าไม่เชื่อก็ยกเลิกกฎหมายที่กำหนดให้เครื่องชั่งสปริงต้องมี 2 หน้าออกสิครับ ปรับค่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดหน่อย ตกแต่งข้อความเล็กน้อย เครื่องชั่งจากจีน เวียดนาม มาเลเซีย หลุดเข้าราชอาณาจักรไทยสบาย ผลตามมาอุตสาหกรรมประจำถิ่นรายที่อ่อนแอป๋อแป่ ต้นทุนต่ำสายป่านสั้น ผลิตเครื่องชั่งสปริงคุณภาพต่ำเปลี่ยนเครื่องหมายการค้าไปเรื่อยๆ ไม่มี Branding ที่เข็มแข็งจะเป็นรายแรกที่ตายทันทีภายในเวลา 1 ปีหรือเร็วกว่านั้น การคุ้มครองและส่งเสริมรักษาอุตสาหกรรมประจำถิ่นด้วยการกำหนดไม่ให้ดำเนินการตรวจสอบให้คำรับรอง “ชั้นหลัง” ก็ยิ่งถือว่าส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมประจำถิ่นชนิดนี้อย่างโดยแท้แล้ว แถมมีนายตรวจชั่งตวงวัดเข้าตรวจสอบการใช้เครื่องชั่งในตลาดสดเก็บกวาดเครื่องชั่งสปริงที่ให้ผลการชั่งผิดไม่ว่าโดยเจตนาหรือเสื่อมสภาพด้วยคุณภาพและ/หรือจากการใช้งานเป็นมาตรการเสริมเข้าไป ยิ่งเป็นการส่งเสริมและเกื้อกูลอุตสาหกรรมประจำถิ่นเครื่องชั่งสปริงโดยทางอ้อมเข้าไปอีก ถือว่าโชคดีขนาดนั้นว่าเถอะ นอกจากนี้เครื่องชั่งสปริงยังเป็นเครื่องชั่งที่ฝังตัวลึกและแยกออกจากวิถีชีวิตของเศรษฐกิจและสังคมไทยยากเย็นเข็ญใจ ถึงแม้จะมี Modern Trade ใช้เครื่องชั่งไฟฟ้าในการซื้อขายสินค้าและบริการเพื่อให้เราเดินจ่ายตลาดภายใต้แอร์เย็นฉ่ำที่ได้คิดค่าแอร์รวมเข้าไปกับราคาสินค้าและบริการที่ขายให้เราแล้วก็ตามที แต่อย่าลืมหัวข้อสำคัญ คือเพราะเราทั้งหลายเป็นคนไทยชั่งตวงวัดจึงต้องดูแลทั้งภาคอุตสาหกรรมประจำถิ่นของราชอาณาจักรไทยแล้วยังต้องดูแลรักษาประชาชนชาวไทยด้วยเช่นกัน ต้องรักษาจุดสมดุลยครับ
เนื่องจากเครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องชั่งประจำถิ่น อีกทั้งใช้เพื่อการซื้อขายสินค้าและบริการต่อสาธารณะโดยตรง แล้วเราจะจัดให้มันอยู่ชั้นความเที่ยงใดของเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติละ เอาอย่างนี้ถ้าเป็นเครื่องชั่งที่ผลิตจากต่างประเทศนำเข้ามาเพื่อใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการต่อสาธารณะโดยตรง เราก็บังคับให้เครื่องชั่งดังกล่าวต้องเป็นเครื่องชั่งชั้นความเที่ยงชั้น III อย่างไม่ต้องสงสัยโดยต้องเล่นตามกติการ OIML R76 ชั่งตวงวัดรักษาผลประโยชน์ของราชอาณาจักรไทยครับ โดยปกติแล้วเครื่องชั่งชั้นความเที่ยง II, III, และ IIII จะมีค่าขั้นหมายมาตราตรวจรับรอง e = d ดังในแถวแรกใน Table 2 OIML R76-2006 ดังรูปข้างล่าง แต่หากผู้ผลิตบอกว่าเครื่องชั่งที่ตนผลิตมีขีดความสามารถสูงกว่านี้หรือต่ำกว่านี้ก็เล่นตามกติกาตามแถวที่ 2 ใน Table 2 OIML R76-2006 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชั้นความเที่ยง I, และ II
Table 2 OIML R76-1 (Edition 2006)
แต่บังเอิญเป็นเครื่องชั่งสปริงที่เป็นเครื่องชั่งประจำถิ่นผลิตเองใช้เองภายในราชอาณาจักรไทย หากไม่ปรับใช้ (Adapt) กำหนดให้อยู่ในชั้นความเที่ยง III เพราะเป็นเครื่องชั่งเพื่อใช้ซื้อขายสินค้าและบริการต่อสาธารณะโดยตรง อย่างเช่นที่เราทำกับเครื่องชั่งที่ผลิตและนำเข้าจากต่างประเทศ รับรองเลยครับว่าไม่สามารถตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งสปริงได้เพราะเครื่องชั่งสปริงมีผลผิดเกินค่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของเครื่องชั่งชั้นความเที่ยง III ที่กำหนดไว้ ณ พ.ศ. 2539-2542 ใน กฎกระทรวง กำหนดเครื่องวัดที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ชนิด ลักษณะ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และคำรับรองของเครื่องชั่งตวงวัด และหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัว พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2546
ด้วยเหตุนี้เราก็นึกหลักคิดคือ “Local” จึงกำหนดให้เครื่องชั่งสปริงมีลักษณะตามที่อุตสาหกรรมประจำถิ่นสามารถดำเนินการได้และดำเนินการอยู่ อีกทั้งสามารถดำเนินการได้ต่อไปและไม่ขัดกับกฎหมาย และ/หรือ มีกฎหมายรองรับอย่างเหมาะสมและสามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนภายในราชอาณาจักรไทย สร้างความสมดุลในสังคมไทยให้อยู่กันอย่างร่มเย็น ก็ได้กำหนดอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของเครื่องสปริงไว้ดังในตารางข้างล่าง โดยไม่จัดให้อยู่ในชั้นความเที่ยง III เพราะผู้ผลิตเครื่องชั่งอุตสาหกรรมประจำถิ่นมีเทคโนโลยีและขีดความสามารถไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานสากล แต่ครั้นจะลดคุณภาพให้เครื่องชั่งสปริงโดยปรับลดจัดให้เครื่องชั่งสปริงไปอยู่ในชั้นความเที่ยง IIII ก็จะเป็นการไม่คุ้มครองผู้บริโภคหรือประชาชนเนื่องเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติชั้นความเที่ยง IIII เป็นเครื่องชั่งที่หยาบมีความเที่ยงต่ำไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อการชั่งซื้อขายปลีกต่อสาธารณะโดยตรงได้ อีกทั้งไม่เป็นการสนับสนุนหรือกระตุ้นให้อุตสาหกรรมประจำถิ่นเครื่องชั่งสปริงมีการพัฒนาตนเองให้ผลิตเครื่องชั่งให้มีคุณภาพสูงขึ้น ความคิดเช่นนี้ถือว่าขัดกับหลักการธรรมชาติคือ ผู้เข้มแข็งอยู่รอดผู้อ่อนแอไม่ปรับตัวก็ตาย แต่อย่างว่าเราเป็นคนไทยใจมันอ่อน...
ตารางอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดเครื่องชั่งสปริง ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิดและลักษณะของเครื่องชั่ง รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องชั่ง อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ห้ามการให้คำรับรองชั้นหลัง และอายุของคำรับรอง ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560.
เรามาลองดูกันว่าเมื่อเราจัดให้เครื่องชั่งสปริงอยู่ในเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติชั้นความเที่ยง IIII โดยยึดกติการ OIML R76-2006 คือ e =d ตัวอย่างเครื่องชั่งสปริง 15 กก. d = 100 g = e ดังนั้น n = 15,000 g/100 g = 150 ช่องขั้นหมายมาตรา พบว่ามีจำนวนขั้นหมายมาตราไม่เกิน 1,000 ช่องถือว่าผ่านเกณฑ์เรื่องจำนวนช่องขั้นหมายมาตรา แต่หากจัดเครื่องชั่งสปริงให้อยู่ในชั้นความเที่ยง III ก็ได้เช่นกันใช่? เพราะมีค่า n ไม่เกิน 10,000 ช่อง แต่ช้าก่อนเมื่อไล่คำนวณอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดจะพบว่ามันไม่ใช่ดังที่คิดเลยดังในตารางที่ ก ข้างล่าง
ตารางที่ ก OIML R76-1 (Edition 1992)
ชั้น
ความเที่ยง
|
ค่าขั้นหมาย
มาตราตรวจรับรอง
|
จำนวนขั้นหมายมาตรา
ตรวจรับรอง
(n = Max/e)
|
พิกัดกำลังต่ำสุด(Min.)
ไม่น้อยกว่า
(Lower limit)
|
|
e
|
จำนวนต่ำสุด
|
จำนวนสูงสุด
|
|
ชั้น III
|
0.1 ก. £ e £ 2 ก.
5 ก. £ e
|
100
500
|
10 000
10 000
|
20e
20e
|
ชั้น IIII
|
5 ก. £ e
|
100
|
1 000
|
10e
|
เงื่อนไขต่อมาที่ต้องพิจารณาคือ ไม่ควรใช้เครื่องชั่งน้ำหนักที่มีค่าต่ำกว่าค่าพิกัดกำลังต่ำสุด (Min) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 10e = 1,000 g = 1 kg ในกรณี่ที่จัดให้เครื่องชั่งสปริงอยู่ในชั้นความเที่ยง IIII นี้แหละเงื่อนไขห้ามใช้เครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลัง 15 kg ชั่งน้ำหนักต่ำกว่า 1 kg จากเดิมที่กำหนดไว้ 500 g ซึ่งก็มากอยู่แล้ว ซึ่งในบริบทวิถีชีวิตจริงในสังคมไทย เราก็ใช้ซื้อขายเนื้อหมู 1 - 2 ขีด หรือ 100 – 200 g เราซื้อผักคะน้าครึ่งกิโลกรัม หรือ 500 g และ ฯลฯ พูดง่ายๆว่า ผลการชั่งที่ 0 – 1,000 g เป็นช่วงที่มีการใช้งานจริงๆในวิถีชีวิต มากน้อยขึ้นอยู่กับท้องถิ่นนั้นๆ ว่ายากดีมีจนกันมากน้อยเท่าใด ดังนั้นการกำหนดให้เครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลัง 15 kg ที่มีค่า Min 500 g เลยต้องคุมด้วยอัตราเผื่อเหลือขาดที่น้ำหนักทดสอบไม่เกิน 2.5 kg ต้องผิดไม่เกิน 25 g (2.5*100/500 = 0.5%)
ในการกำหนดชั้นความเที่ยงของเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติตาม OIML R76 หรืออีกนัยหนึ่งก็คือตามกฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งก็ร่างโดยยึดหลักพื้นฐานตาม OIML R76 ได้กำหนดให้มีตัวแปรที่ใช้คือ Max, Min, n และ e ดังนั้นอย่าเพียงสนใจแต่ Max, n และ e โดยไม่สนใจหรือมองข้าม Min ดังนั้นจึงมีคำถามว่าทำไม OIML R76 ถึงไม่ให้ใช้เครื่องชั่งเพื่อชั่งน้ำหนักที่มีค่าต่ำกว่าค่าพิกัดกำลังต่ำสุด (Min) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 10e = 1,000 g = 1 kg ให้กลับไปอ่านให้ละเอียด แต่จะสรุปไว้ให้เข้าใจในเบื้องต้นก็คือ การชั่งที่มีค่าน้ำหนักต่ำกว่า Min นั้นเป็นช่วงการชั่งที่ให้ผลผิดสัมพันธ์ (Relative Error) สูงมากจนเกินไป หรือพูดนิ่มๆ ว่าเป็นช่วงการชั่งที่ไม่ควรใช้ชั่ง แต่หากใครไปใช้ก็เรื่องของมันอย่างนั้นหรือ ????? ในฐานะข้าราชการของแผ่นดินมันวังเวง ทุเรศใจมากน่ะ มันจะไม่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคประชาชนทั่วไปบ้างหรือ ลูกชาวบ้านอย่างผมก็ต้องรับกรรมให้กับ...... เหมือนเดิม????
ตารางที่ ข อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดสำหรับการตรวจสอบให้คำรับรองชั้นแรก (Values of maximum permissible errors on initial verification) (OIML R76-1, Edition 1992)
อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด
|
น้ำหนักใช้ทดสอบ (m) แสดงในหน่วยของค่าขั้นหมายมาตราตรวจรับรอง (e)
|
|
ชั้น III
|
ชั้น IIII
|
±0.5 e
|
0 £ m £ 50,000 g
|
0 £ m £ 5,000 g
|
±1.0 e
|
50,000 g < m £ 200,000 g
|
5,000 g < m £ 20,000 g
|
±1.5 e
|
200,000 g < m £ 1,000,000 g
|
20,000 g < m £ 100,000 g
|
เราจึงมาคิดอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่ค่าเท่ากับและต่ำกว่าค่า Min เพื่อพิจารณาช่วงการชั่งที่ให้ผลผิดสัมพันธ์ (Relative Error) สูงมากจนเกินไป ในที่นี้ก็อยู่ในช่วงตั้งแต่ 5% ถึง 50% คือ
ที่ 1,000g เครื่องชั่งสปริงมีผลผิดได้ ±0.5(100 g) = ± 50 g หรือคิด Relative Error เป็น 50 x100/1000 = 5%
ที่ 500g เครื่องชั่งสปริงมีผลผิดได้ ±0.5(100 g) = ± 50 g หรือคิด Relative Error เป็น 50 x100/500 = 10%
ที่ 100g เครื่องชั่งสปริงมีผลผิดได้ ±0.5(100 g) = ± 50 g หรือคิด Relative Error เป็น 50 x100/100 = 50%
ดังนั้นในประกาศกระทรวงฯ พ.ศ. 2560 จึงกำหนดให้เครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลัง 15 kg ที่มีค่า Min 500 g และคุมด้วยอัตราเผื่อเหลือขาดที่น้ำหนักทดสอบไม่เกิน 2.5 kg ต้องมีผลผิดไม่เกิน 25 g (2.5*100/500 = 0.5%)... เข้าใจหรือยังขอรับ....ท่าน
หากจะกำหนดให้เครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลัง 15 kg อยู่ในชั้นความเที่ยง III จะมีผิด ±0.5e = ± 50 g คงที่ตลอดช่วงการชั่งถึง 15 kg (ดูตารางที่ ข) ในขณะเดียวกันก็มีค่า Min = 20e = 2,000 g หรือ 2 kg นั้นคือเครื่องชั่งสปริงใช้งานชั่งน้ำหนักได้แต่ห้ามต่ำกว่า 2 kg หนักเข้าไปอีก คำว่า Local เริ่มเข้ามาในใจของเรากันหรือยัง มันคือ Trailer Make เราต้องหาสิ่งที่เหมาะสมกับเรา
เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2557 เกิดมี “คณะกรรมการชั่งตวงวัด” เพื่อทำหน้าที่พิจารณากฎหมายในเชิงเทคนิคแล้วให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ในการออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้นกฎกระทรวงเดิมๆ ที่เกี่ยวข้องทางเทคนิคก็ถูกปรับลดลงให้เป็นประกาศกระทรวงฯ ซึ่งได้มี ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิดและลักษณะของเครื่องชั่ง รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องชั่ง อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ห้ามการให้คำรับรองชั้นหลัง และอายุของคำรับรอง ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ขึ้นทดแทนกฎกระทรวง กำหนดเครื่องวัดที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ชนิด ลักษณะ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และคำรับรองของเครื่องชั่งตวงวัด และหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัว พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ในส่วนเครื่องชั่ง ซึ่งก็ยังคงหลักคิดเดิมไว้อยู่คือ “Local”
แต่หากจะปรับเปลี่ยนหลักการสำหรับเครื่องชั่งสปริง โดยเปลี่ยนจาก “Local” เป็น “Global” โดยจัดให้เป็นเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติชั้นความเที่ยง IIII ผลที่จะตามมาคือ
1. เครื่องชั่งสปริงจะมีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดสูงขึ้น หรืออีกนัยคือเรายอมให้เครื่องชั่งสปริงมีความเที่ยงน้อยลง ใครจะไปตอบประชาชนผู้ใช้เครื่องชั่งสปริงว่าเครื่องชั่งสปริงต่อไปนี้หลวงจะคุ้มครองน้อยลงทำให้ท่านที่เคารพจะต้องใช้เครื่องชั่งสปริงที่ผลิตจากอุตสาหกรรมประจำถิ่นมีความเที่ยงลดลงแล้วนะ ในโลกนี้ทุกคนต้องการสิ่งดีๆ เพิ่มขึ้น โลกพัฒนาไปจนไปถึงดาวพลูโตแต่เครื่องชั่งสปริงมีความเที่ยงลดลง???? มันเข้าใจยากว่ะ.... ส่วนในทางปฏิบัติผู้ผลิตอุตสาหกรรมประจำถิ่นใดจะยังคงคุณภาพเครื่องชั่งสปริงที่ตนเองผลิตให้มีความเที่ยงสูงเช่นเดิมเพื่อรักษา Branding ตนเองไว้ นั้นคือยังคงรักษาให้เครื่องชั่งสปริงมีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่เราจัดให้เป็นเครื่องชั่งแบบ Local ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชน ดังนั้นหลังจากนี้เราจะไปบังคับกะเกณฑ์ใดๆ หรือมีการรับประกันใดๆ ไม่ได้อีกต่อไปเพราะไม่มีกฎหมายบังคับเสียแล้วเพราะเราดันไปจัดเครื่องชั่งสปริงให้ไปอยู่ชั้นความเที่ยง IIII เสียแล้ว อย่าคิดไปขอความร่วมมืออย่างเด็ดขาด เพราะผู้ผลิตเครื่องชั่งสปริงอุตสาหกรรมประจำถิ่นเคารพกฎหมายเท่านั้นครับ
2. ประการต่อมาเมื่อเครื่องชั่งสปริงจะมีค่าพิกัดกำลังต่ำสุด (Min) สูงขึ้นเมื่อถูกจัดให้อยู่ชั้นความเที่ยง IIII คือ เครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลัง 15 kg กับ 20 kg (ค่า Min เพิ่มจาก 500 g เป็น 1,000 g หรือ 1 กิโลกรัม) ซึ่งจะครอบคลุมช่วงการชั่งใดที่มีการใช้งานจริงๆ ในวิถีชีวิตมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่พิกัดกำลังเครื่องชั่งสปริง ประการนี้เราไม่สามารถกำกับดูแลและบังคับได้จริงในทางปฏิบัติ ความผิดและเวรกรรมก็จะตกลงมายังพนักงานเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัด และนายตรวจชั่งตวงวัด เพราะใครมันจะไปนั่งเฝ้าการใช้เครื่องชั่งสปริงได้ตลอดเวลาหากใช้เครื่องชั่งสปริง 15 kg เพื่อชั่งซื้อขายถั่วฝักยาว 3 ขีด หรือ 300 กรัม ซึ่งมีค่าต่ำกว่ากว่า Min (1,000 กรัม) !!! ส่วนจะคาดหวังผู้ใช้เครื่องชั่งสปริงจะต้องมีความรู้รักษาผลประโยชน์เอาเอง ในทางปฏิบัติมันก็ยาก แต่หากเจอผู้มีความสนใจจริงก็จะมีเรื่องร้องเรียนกันวุ่นวายก่อให้มีปัญหาในเชิงบริหารจัดการ ต้องกางกฎหมายหาความผิดการใช้เครื่องชั่งสปริงต่ำกว่าค่า Min หาข้อหาไปหาข้อหามา อ้าวไม่มีความผิดที่ระบุชัดเจน ยกคำร้อง หรือต้องร่างแก้ไขกฎหมายใหม่ ฯลฯ เอาแค่ 2 ประเด็นก็เหนื่อยใจแล้วครับ
3. พิกัดกำลังเครื่องชั่งสปริงภายใต้ชั้นความเที่ยง IIII หากยังเคารพตัวเลขที่ใช้งานกับสาธารณะชนคือ 1, 2 และ 5 ก็จะไม่มีปัญหาแต่หากผู้ผลิตอุตสาหกรรมประจำถิ่นเกิดต้องการตอบสนองตลาดเฉพาะผลิตเครื่องชั่งสปริงให้มีพิกัดกำลังไม่เป็นไปตามตัวเลขใช้งานกับสาธารณะชนคือ 1, 2 และ 5 เราอาจะเห็นเครื่องชั่งสปริง 1.5 กิโลกรัม ??? พนักงานหน้าที่ชั่งตวงวัดก็ต้องเตรียมตัวจัดให้มีแบบมาตราให้เพียงพอในการตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) รวมไปถึงออกไปสำรวจตรวจสอบ (Inspection) ต้องวางแผนโครงสร้างแบบมาตรา อาจต้องออกแบบตุ้มพวงใหม่จาก 4 kg เป็น ...kg เป็นต้น
4. สำหรับประเด็นที่มีเครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลังสูงกว่า 60 kg ถูกนำเข้ามาภายในราชอาณจักรไทยและใช้งานในปัจจุบัน ประการแรกที่มีคำถามในใจคือ กรมศุลกากร...ยังทำหน้าที่อยู่หรือไม่ หรือหากไม่นำเข้าผ่านช่องทางปกติแต่แอบนำเข้ามาช่องทางธรรมชาติ คำถามในใจว่าทหารและตำรวจยังทำหน้าที่อยู่หรือไม่ ไม่ใช่หาเรื่องหรือกล่าวโทษไม่รับผิดชอบแต่บังเอิญเจอปัญหาในลักษณะนี้จนต้องนั่งลงพิจารณาในภาพร่วมของปัญหาที่เราต้องแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เรื่องลักษณะนี้ในฐานะชั่งตวงวัดมีเราประสบการณ์ที่มีสถานะการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอยู่ปลายทางหรือปลายน้ำ (Downstream) ของเรื่องราวและต้องรับผิดชอบพูดง่ายๆ ต้องรับผิดชอบจากการทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์จากหน่วยงานก่อนหน้านี้ จะโกรธก็ว่า…..แต่มันเป็นเรื่องจริง… และต้องอยู่กับมัน จะยกตัวอย่างให้สักเรื่องหนึ่งก็ได้ คือในกรณีมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายก่อนเติม เพราะมาตรวัดดังกล่าวจะผลิตออกมาใช้งานได้ต้องผ่านกฎหมายหลายฉบับและหลายหน่วยงาน นอกจากพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น
กฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๒
กฎกระทรวง สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑
กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๖
กฎกระทรวง ระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน พ.ศ. ๒๕๕๖
โดยเฉพาะกฎกระทรวง ระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน พ.ศ. ๒๕๕๖ มันมีช่องหมารอดอยู่ข้อหนึ่งคือ ข้อ 16 (9) ลองไปตรวจสอบดูเถอะครับ “มาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายก่อนเติม” ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ พรบ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ถูกจัดเป็น “สถานีบริการน้ำมัน” ประเภท “สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง” ตามกฎกระทรวงฯ พรบ. ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 นั้น ไปตรวจสอบได้เลยว่าจะมีกี่ตู้จ่ายฯ ที่ผลิตในราชอาณาจักรไทยที่ผ่านการรับรองให้ใช้ในบริเวณอันตรายแบบที่ 1 และแบบที่ 2 จากองค์กร สมอ., UL, EECS, PTB, LCIE, CESI, CSA และ TIIS ที่เราเจอและมีปัญหาก็ล้วนผ่านการรับรองจากข้อ 16 (9) ทั้งนั้น พอสอบถามลึกลงไปว่าองค์ในข้อ 16 (9) มีห้องปฏิบัติการ? มีเครื่องมืออุปกรณ์ใด? มีวิธีการมาตรฐานการทดสอบอ้างอมาตรฐานสากลใด? มีคุณภาพบุคลากรและประสบการณ์มากน้อยเพียงใด? เราจะไม่ได้มีคำตอบกลับออกมาหรอกครับ พอเราบอกกล่าวเรื่องราวที่แท้จริงให้ผู้มีอำนาจรับทราบ ผู้มีอำนาจก็ตบปากเราแล้วสวนกลับมาว่าจะให้ผู้มีอำนาจไปทะเลาะกับกระทรวงพลังงาน หรือ? ผลตามมาเราก็จะเจอเครื่องชั่งตวงวัดปลายทางที่มีคุณภาพต่ำทรามสิครับ
ดังนั้นไม่ว่าเครื่องชั่งตวงวัดทั้งที่ระบุพิกัดศุลาการกรชัดเจนอย่างไร มี National Single Window อย่างไรมันก็เข้ามาในราชอาณาจักรไทยจนได้ หรือจะสั่งซื้อออนไลน์หรืออย่างไรมันก็มาปรากฏในแผ่นดินราชอาณาจักรไทยโดยเป็นเครื่องชั่งตวงวัดที่ไม่ได้รับการตรวจสอบให้คำรับรองเพราะเป็นเครื่องชั่งตวงวัดไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะให้ชั่งตวงวัดไล่ตามจับกุมดำเนินคดีกันทุกรายไป ในทางปฏิบัติมันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะดำเนินการด้วยแต่ก็ต้องตอบว่าเราปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่างเพราะเราก็กลัว ม. 157 เช่นกัน จะให้ข้าราชการ 1 คนลูกชาวบ้านอย่างเราขึ้นโรงขึ้นศาลเป็น 10 เป็น 100 คดี งานการก็ไม่ต้องทำกัน ลองให้ลูกหลานพวก C10 - C11 มาทำสิ มันก็ไม่ทำหรอกครับเพราะแป๊บเดียวมันนั่งเป็นผู้บริหารของหน่วยงานแล้ว... ส่วนจะมาขู่ว่าโดน ม. 157 มันก็ไม่เป็นธรรมน่ะ ผมเชื่ออย่างนั้น มันเป็นระบบราชการ.......นั้นคือเมื่อหน่วยงานหนึ่งทำงานไม่ทำหน้าที่ หรือทำหน้าที่บกพร่อง เรื่องมันก็จะสะสมกันมาเป็นทอดๆ พอมาถึงปลายทางจะให้หน่วยงานปลายทางรับผิดชอบเพียงหน่วยงานเดียวกระนั้นหรือ...เจ้านาย?????
รูป กฎกระทรวง ระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ 16
5. ต้องยอมรับว่ามีช่องว่างของตลาดเครื่องชั่งระหว่างพิกัดกำลัง 60 kg – 100 kg มีอยู่จริง เนื่องจากมีเครื่องชั่งที่ใช้อยู่เป็นเครื่องชั่ง 4 (ชื่อเดิมตาม พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466).หรือเครื่องชั่งแบบคันชั่งเครื่องชั่งแบบสตีลยาร์ด (Simply steelyards with sliding poises) ที่มีพิกัดกำลัง 500 kg (ส่วนใหญ่) ที่เห็นใช้ในการชั่งหัวหอม กระเทียม แผ่นยางยางพารานั้นแหละครับ มีขนาดและน้ำหนักมากสูงยากต่อการพกพาเคลื่อนย้าย ดังนั้นช่วงพิกัดกำลังของเครื่องชั่ง 60 kg – 100 kg จึงเป็นช่วง “Blue Ocean” ของพ่อค้าที่สามารถทำรายได้จริงๆ นั้นคือเป็นช่องว่างทางการตลาดที่ไม่มีผู้แข่งขันมากเพราะกฎหมายไม่ให้มีเครื่องชั่งสปริงเกินพิกัดกำลัง 60 kg ในการกำหนดไว้อย่างนั้นก็เพราะในวันนั้นผู้ผลิตเครื่องชั่งสปริงประจำถิ่นทำกันแค่นั้น และขีดความสามารถในเทคโนโลยีของกลไกสปริงของผู้ผลิตเครื่องชั่งประจำถิ่นไปได้แค่นั้น และเรามีความเห็นเป็นส่วนตัวและเชื่อว่าเครื่องชั่งที่ใช้เทคโนโลยีกลไกสปริงก็ควรหยุดอยู่เพียงเท่านี้คือ ใช้ชั่งสินค้าในลักษณะพกพาหรือถือได้ของชายหญิงไทยด้วยน้ำหนัก 50 kg อีกทั้งเป็นการประนีประนอมกับวิถีชีวิตของสาธารณะชนซึ่งชั่งตวงวัดเองก็ไม่ควรดำเนินการใดๆขัดกับวิถีชีวิตของสาธารณะชนอย่างเด็ดขาด ไม่เชื่อลองออกกฎหมายดูสิว่า “ต่อไปนี้ในการซื้อขายไข่ไก่ ไข่เป็นให้ชั่งเป็นน้ำหนัก” คงมันน่าดูครับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจากเมื่อ พ.ศ. 2542 เป็น พ.ศ. 2560 – 2566 ด้วยวิถีชีวิตสาธารณะชนจริงในระบบเศรษฐกิจสังคมราชอาณาจักรไทยซึ่งมันต้องมีพลวัตรและอีกทั้งเป็นความต้องการของผู้ใช้จริงทั้งนี้เราก็ต้องยอมรับและต้องมาพิจารณากันจริงๆว่าเทคโนโลยีเครื่องชั่งระหว่างพิกัดกำลัง 60 kg – 100 kg กลไกของเครื่องชั่งโดยการใช้สปริงยังสามารถรองรับได้ดีหรือไม่ หรือเราจะมีเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติชนิดอื่นสามารถทดแทนและอุดความต้องการของผู้ใช้งานช่วงพิกัดกำลังดังกล่าวได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบ หากเทคโนโลยีของสปริงยังใช้งานได้อยู่เราก็อาจเพิ่มช่วงเครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลัง 60 kg – 100 kg ให้อยู่ในชั้นความเที่ยงชั้น IIII หรือเพิ่มตารางอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามแนวทางเดิม ซึ่งต้องเรียกผู้ผลิตเครื่องชั่งสปริงมาทำความเข้าใจ แต่โดยหลักการที่ผู้มีส่วนได้เสียจากการใช้เครื่องชั่งสปริงเดิมต้องไม่เสียสิทธิ์เดิมที่มีอยู่ไป นั้นคือเครื่องชั่งต้องไม่มีอัตราเผื่อเหลื่อเผื่อขาดสูงขึ้นหรือมีความเที่ยงแย่ลง การกำหนดให้เครื่องชั่งสปริงให้มีพิกัดกำลังแบบ “ปลายเปิด” ตั้งแต่ 60 kg ให้อยู่ในชั้นความเที่ยง IIII ดูจะไม่คำนึงถึงเทคโนโลยีกลไกสปริงมันไปได้ถึงไหน? แต่ควรตีกรอบเทคโนโลยีชนิดนี้ (กลไกสปริง) ให้อยู่ในช่วงพิกัดกำลังที่เหมาะสมกับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมประจำถิ่นไม่ดีกว่าหรือ?? อีกทั้งควรบริหารจัดการให้ผู้ใช้เครื่องชั่งสปริงที่มีพิกัดกำลังสูงดังกล่าวทำการปรับเปลี่ยนไปใช้จากเครื่องชั่งในรูปแบบ Local ไปยังเครื่องชั่งในรูปแบบหลักการ Global ทั้งนี้ก็เพราะว่าธุรกิจใดที่ต้องใช้เครื่องชั่งพิกัดกำลังสูงๆ ในการซื้อขายสินค้าและบริการ เราอนุมานได้ว่าเป็นการดำเนินการธุรกิจโดยบุคคลที่มีกำลังทรัพย์สูง ผู้เกี่ยวข้องธุรกิจดังกล่าวต้องรับผิดชอบระบบเศรษฐกิจสังคมของราชอาณาจักรไทยเนื่องจากได้รับผลประโยชน์จากสังคมมากกว่าคนทั่วไป อีกทั้งควรคำนึงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจและช่วยยกระดับมาตรฐานเครื่องชั่งตวงวัดในราชอาณาจักรไทยให้สูงขึ้นด้วย ถ้าจะเปรียบเปรยถึง “เครื่องชั่งสปริง” เราก็สามารถเปรียบเปรยเครื่องชั่งสปริงเสมือนเป็นเครื่องชั่งคนจนก็ว่าได้ (ไม่น่าเกียจกระมัง) ดังนั้นจึงควรสงวนไว้กับกิจกรรมการค้าในระดับหนึ่ง การขยายพิกัดกำลังเครื่องชั่งตวงวัดที่ถูกจัดกลุ่มให้เป็น Local ต้องคำนึงและตีกรอบไว้พอประมาณต้องไม่ควรกำหนดเป็น “ปลายเปิด” ส่วนกลัวว่าเมื่อเจอเครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลังสูงกว่า 60 kg ถูกนำเข้ามาภายในราชอาณาจักรและใช้งานโดยไม่ได้รับการตรวจสอบให้คำรับรอง แล้วไม่อยากจับกุมดำเนินคดีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และเข้าใจดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ชั่งตวงวัดเราอยู่ปลายน้ำจะให้ชั่งตวงวัดเราจมน้ำตลอดเวลา....ตลอดชีวิต....หรือ??????? พวกต้นน้ำ..มันต้องรับผิดชอบบ้าง..... แต่ถ้าให้สวย วันหนึ่งวันใดเกิดต้นน้ำและปลายน้ำเชื่อมมือจับมือกันได้ เรามารวมกันเล่น..ให้สนุกสนานกันซักรอบ 2 รอบ ก็น่าสนนะ 55555 ใครคิดโครงการความร่วมมือกรมศุลกากร ตำรวจเศรษฐกิจ ตำรวจการซื้อขาย Online หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ฯลฯ... ทำการลงแขกสักทีก็ดี ... แต่.....ตื่นๆๆๆๆๆ เอ็งฝันอยู่...
เราจะไม่เอ่ยถึงหรือไม่อยากคุยเครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลังเกิน 100 kg เพราะสามัญสำนึกมันวังเวง ตอบไม่ได้เพราะอะไร แต่คิดว่าเทคโนโลยีกลไกสปริงเดินมาไกลเกินไปหรือไม่จนถึง 200 kg หรือครับ?? นอกเสียจากมีการพัฒนาวัสดุศาสตร์มีวัสดุโลหะชนิดใหม่เกิดขึ้นบนโลกหรือได้นำวัสดุโลหะใหม่ๆเข้ามาใช้ทำสปริง กรรมวิธีขึ้นรูปและ Heat Treatment ใหม่ๆ ด็มาสอนเรา เราก็อยากรู้ แต่หากผู้ผลิตเครื่องชั่งสปริงประจำท้องถิ่นบอกว่าไม่คิดผลิตเครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลัง 60 kg – 100 kg เรื่องก็น่าจบ แต่หากผู้ผลิตประจำท้องถิ่นบอกว่าไม่ผลิตเครื่องสปริงในช่วงพิกัดดังกล่าวแต่ขอนำเข้า อย่างนั้นก็ได้แต่ต้องนำเข้าเครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลัง 3, 5, 7, 15, 20, 35 และ 60 kg ด้วยได้หรือ? แต่ถ้าผู้ผลิตเครื่องชั่งประจำถิ่นบอกว่าผลิตเครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลัง 60 kg – 100 kg และขออยู่ในชั้นความเที่ยงชั้น IIII เรื่องก็น่าจะจบไปด้วยดี เพราะผู้ผลิตประจำถิ่นต้องรับผิดชอบเครื่องชั่งสปริงที่เราสงวนและรักษาปกป้องให้เป็นเครื่องชั่งตวงวัดที่เรายึดเป็น “Local” ด้วย ผู้ผลิตประจำถิ่น (เครื่องชั่งสปริง) ต้องรับผิดชอบระบบเศรษฐกิจและสังคม ของราชอาณาจักรไทยที่พวกคุณได้ตักตวงผลประโยชน์มานานหลายปี ถึงเวลาที่ผู้ผลิตประจำถิ่นต้องทดแทนคุณแผ่นดินบ้าง แต่หากเราออกกฎระเบียบให้มีการนำเข้าเครื่องชั่งสปริงพิกัดกำลัง 60 kg – 100 kg มันจะมีเรื่องตามมาอีกเยอะ.... ลองติดตามดูครับ......
หากผู้ใดมีความคิดความอ่านโลกสวย อยากให้ทุกอย่างโดยเฉพาะเครื่องชั่งตวงวัดในราชอาณาจักรไทยเป็นไปตามสากล หรือ Global เสียทุกเรื่อง ยอมไม่ได้ที่จะให้มี Local ต้องจัดปรับ Local ให้เป็น Global ทั้งหมด ก็อย่าลืมเรื่องที่จับต้องไม่ได้ เช่น วิถีชีวิตของสาธารณะชนด้วยนะ และอย่าลืมสะกดคำ Adapt กับ Adopt ส่วนจะเข้าใจความหมายมันหรือไม่? ก็ค่อยๆคิด ไม่เสียเวลาหรอกครับ บางประเทศที่เจริญแล้วเพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติรัฐ เมื่อออกกฎหมายมันยังสามารถออกกฎหมายว่า “ทั้งนี้สัตว์ปีก ให้รวมถึงสุกรด้วย” ดูมัน….ยังทำได้เลย...... แล้วเราละ “....แล้วขยัน” หรือครับ........... ผิดหวังจริงๆ ขอรับ .......... แต่ขอวางลงไว้ ณ ตรงนี้นะเพราะทำหน้าที่จบแล้ว.............สาธุ
ชั่งตวงวัด; GOM MOC
นนทบุรี
8 มิถุนายน 2566